top of page
แบ่งกลุ่ม.jpg

Week 04:
Music for Society 2 Proposal

สัปดาห์ที่ 04

หัวข้อเรื่อง:       

แบ่งกลุ่มและจัดทำโครงร่างดนตรีเพื่อประชาสังคม 2

Music for Society 2 Proposal

รายละเอียด:    

ให้นักศึกษาได้ออกแบบกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมตามบริบทที่กำหนด โดยแบ่งกลุ่มเพื่อออกแบบกิจกรรมดังกล่าวโดยเน้นการให้ความรู้ในลักษณะกลวิธีในการสอนดนตรีกลุ่มจากการประยุกต์องค์ความรู้จากทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีในการสอนกลุ่มให้เป็นประโยชน์และความต้องการของบริบทของกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน

Book2: Week 04: Welcome

โครงร่างงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2

เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติในการจัดทำโครงร่างงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 โดยเน้นการให้ความรู้ในลักษณะกลวิธีในการสอนดนตรีกลุ่มจากการประยุกต์องค์ความรู้จากทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีในการสอนกลุ่มให้เป็นประโยชน์และความต้องการของบริบทของกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน ดังนั้นผู้เรียนควรคำนึงถึง 4 ประเด็นสำคัญในงานทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม โดยผู้สอนได้ประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการดำเนินกิจกรรมและผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (OCR, 2020) ได้แก่

  1. ความรู้ความเข้าใจการบริบทของวัฒนธรรมชุมชนและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาโดยผู้เรียนสามารถพัฒนาความคิดในการจัดกิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนนั้นที่มีความลึกซึ้งทางความคิดมากกว่าดนตรีเพื่อประชาสังคม 1  

  2. ความสามารถในการเป็นผู้นำกิจกรรมดนตรี ผู้เรียนจะมีโอกาสในการนำกิจกรรมทั้งลักษณะกลุ่มและรายบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะในการสื่อสาร

  3. ความสามารถวางแผนงานและการเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายหรือชุมชนเป้าหมาย
    การดำเนินกิจกรรมควรให้กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในความต้องการที่สอดคล้องกับกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม

  4. การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ผู้เรียนแสดงให้เห็นถึงการคิดวิเคราะห์ที่มีความลึกซึ้งในการประเมินผลการดำเนินงานมากกว่าดนตรีเพื่อประชาสังคม 1


ผู้สอนได้นำมาเกณฑ์มาปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับการประเมินและวัดผลในรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 ในการประยุกต์ใช้กลวิธีการสอนกลุ่มโดยเพิ่มอีก 1 เงื่อนไขเพื่อประเมินการดำเนินงานในภาพรวมของผู้เรียน โดยกำหนดให้มี

  1. ความน่าสนใจของกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมในภาพรวม และเครื่องมือหรือสื่อที่ใช้ในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม โดยจะเห็นถึงการออกแบบกิจกรรม การเตรียมตัว การดำเนินกิจกรรมมีส่วนทำให้กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนมีความน่าสนใจ สนุกสนาน และได้สาระจากการดำเนินกิจกรรม
    ตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานดนตรีเพื่อประชาสังคม

การเขียนโครงงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2

การเขียนโครงงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 มีแนวทางในการเขียน มีความแตกต่างจากโครงงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 ในด้านดังต่อไปนี้

  1. การประยุกต์ใช้ความรู้ทางดนตรีในการออกแบบกิจกรรมดนตรีให้กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน และ

  2. กระบวนการการทำงานที่สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผลและสดคล้องกับการดำเนินกิจกรรม

โดยควรคำนึงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อโครงงาน

  1. ควรกำหนดให้สอดคล้องกับกิจกรรม สถานการณ์ บริบท เข้าใจง่าย มีความชัดเจน และสื่อความหมายได้กับวัตถุประสงค์

คณะทำงาน

   2. ใส่ชื่อ-นามสกุล ของคณะทำงานทุกคนความสำคัญและที่มาของปัญหา

   3. สามารถเขียนถึงความเป็นมาและความสำคัญของเรื่องที่จะดำเนินการโดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรม จากการประมวลสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และปัญหาที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้แก้ไข โดยใช้ให้เห็นถึงว่าดนตรีที่ผู้เรียนใช้จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมอย่างไร

   4. อธิบายทฤษฎีและแนวคิดที่กลุ่มผู้เรียนที่นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม และชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการออกแบบกิจกรรมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานดนตรีเพื่อ ประชาสังคม

วัตถุประสงค์

   5. ทำไปเพื่ออะไรและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนกลุ่มคน เป็นข้อความแสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ภายในโครงงานให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม มีความชัดเจนและไม่คลุมเครือ

   6. เช่น เพื่อ + กริยา + สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย

   7. แสดงให้เห็นถึงทฤษฎีและแนวคิดของกลวิธีการสอนกลุ่มผ่านการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

   8. ระบุจำนวนคน กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม ทั้งเชิงปริมาณ (จำนวนผู้เข้าร่วม) รวมถึงอายุ เพศ ฯ และเชิงคุณภาพ ได้แก่ผลที่จะเกิดกับผู้เข้าร่วม เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่กำลังออกแบบและวัตถุประสงค์

สถานที่ในการดำเนินกิจกรรม

   9. ระบุสถานในการดำเนินโครงงานว่าจะดำเนินการ ณ ที่ใด เช่น ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรืออาคารสถานที่ในการดำเนินงานโครงงาน


วิธีการดำเนินงาน

   10. กิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมที่กำหนดเป็นขั้นตอนตามลำดับก่อนหลัง

  • เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงงาน โดยใช้วัตถุประสงค์เป็นตัวตั้งในการคลี่คลายออกมาเป็นกิจกรรมย่อย

  • กิจกรรมย่อยควรมีประสิทธิภาพเพื่อตอบวัตถุประสงค์ให้มีความชัดเจน

  • กิจกรรมเป็นการพัฒนาจากทฤษฎีและแนวคิดกลวิธีการสอนกลุ่มที่แต่ละกลุ่มใช้ศึกษา

ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน

    11. ระบุเวลาตั้งแต่เริ่มโครงงานจนเสร็จโครงงานว่าใช้เวลาเท่าใด

    12. การปฏิบัติงานภาคสนาม อย่างน้อย 4 ครั้ง หรือไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงการทำงาน

    13. กำหนดให้มีการนำเสนอผลงานต่อสาธารณชน (showcase) อย่างน้อย 1 ครั้ง

งบประมาณ

    14. เป็นไปตามระเบียบ ประกาศทางการเงินที่เกี่ยวข้องของส่วนงานนั้น ๆ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    15. ระบุผลที่คาดการไว้จากการดำเนินกิจกรรมควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

    16. ผู้เรียนควรระบุผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับทฤษฎีและแนวคิดกลวิธีการสอนกลุ่มที่ใช้ศึกษา

บทสรุป

การจัดทำโครงงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้การประยุกต์องค์ความรู้จากทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีในการสอนกลุ่มให้เป็นประโยชน์และความต้องการของบริบทของกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน โดยมีความสอดคล้องซึ่งกันและกันในหัวข้อต่าง ๆ ดังแนวทางในการเขียนโครงงานฯ ทั้งนี้ผู้เรียนควรตระหนักถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านดนตรีในการออบแบบกิจกรรมให้ได้เป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง

OCR. (2020, Jan 18). Music in the Community: OCR level 3 Cambridge technical in performing

arts. From Oxford Cambridge and RSA:

https://www.ocr.org.uk/Images/141422-music-in-the-community.pdf

"เครื่องมือ / เกณฑ์การประเมินและวัดผล ท่านสามารถอีเมล์มาสอบถามยังผู้เขียนได้ที่ suppabhorn@pgvim.ac.th"

Book2: Week 04: Text
bottom of page